วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ธนาคารไทยแห่งแรก

2449 - 2475 ก่อรากฐานการธนาคารไทย

                 ประวัติศาสตร์หน้าแรกของธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งนับเป็นสถาบันการเงินแห่งแรกของชาวสยามนั้น เริ่มต้นขึ้นในนาม "บุคคลัภย์" (Book Club) โดย พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ซึ่งขณะนั้นทรง ดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวง พระคลังมหาสมบัติในพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ที่จะให้มีสถาบัน การเงินของสยาม เป็นฐานรองรับการเติบโตทางด้าน เศรษฐกิจการเงินของประเทศ จากการที่โลกตะวันตกได้ ขยายเส้นทางการค้าทางทะเลมาสู่ดินแดนสยามเป็นอย่างมาก ในยุคนั้น ในขั้นแรกจึงทรงริเริ่มดำเนินกิจการธนาคารพาณิชย์เป็นการ ทดลองในนาม "บุคคลัภย์" (Book Club)




ต่อมากิจการทดลองประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมี
พระบรมราชานุญาตให้ตั้งเป็นธนาคารในนาม "บริษัท แบงก์สยาม กัมมาจล ทุนจำกัด" (Siam Commercial Bank, Limited) เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449 ประกอบธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์ อย่างเป็นทางการและได้รับพระราชทานตราอาร์มแผ่นดินมาเป็นตราประจำธนาคารด้วย นับตั้งแต่นั้นมาและได้ กลายมาเป็น "ต้นแบบธนาคารไทย" โดยริเริ่ม นำระบบ และ แนวคิดของการให้บริการ รับฝากเงินออมทรัพย์ และ บริการ บริการบัญชี กระแสรายวัน (Current Account) ถอนเงิน โดยใช้เช็คมาให้บริการ แก่ประชาชน พร้อมทั้งจัดตั้งสาขาขึ้น ทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาคต่างๆ นอกจากนี้ธนาคารยังมี ส่วนร่วม ในการก่อกำเนิดและวางรากฐานสหกรณ์การเกษตร ของประเทศ




                 ธนาคาร หรือ แบงก์ แห่งแรกของชาวสยาม ก็ได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในด้านกิจการภายในและกิจการการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะด้านการส่งออกข้าวไปสู่ตลาดโลก ดังนั้น ออฟฟิศขนาดเล็ก ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อเริ่มกิจการที่ตำบลบ้านหม้อจึงเล็กเกินไปสำหรับการประกอบธุรกิจ ผู้บริหารขณะนั้นจึงมองหาที่ทางแห่งใหม่ที่เหมาะสม ในช่วงเวลานั้น การค้าขายของชาวกรุงเทพฯ กระจุกตัวอยู่แถวสำเพ็ง เยาวราช ทรงวาด และตลาดน้อย เนื่องด้วยมีทำเลติดแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นเส้นโลหิตของการคมนาคมขนส่งสินค้าทุกชนิด และบริเวณนั้นเป็นชุมชนชาวจีน ซึ่งมีอาชีพค้าขายมาตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มก่อตั้งย่านตลาดน้อยดูจะเหมาะสมในการตั้งสำนักงานแห่งใหม่ที่สุด เพราะเป็นย่านการค้าเก่าแก่ของกรุงเทพฯ รองจากสำเพ็ง อีกทั้งเป็นย่านที่พักของชาวกรุงเทพฯ ทั้งชาวจีนและไทยหนาแน่น มีที่อยู่ซึ่งสร้างแบบเก๋งจีนมากมายมาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก





                  ตลาดน้อยนี้ แต่เดิมมีชื่อเรียกแบบจีนว่า  "ตลาดเกี๊ยะ"เป็นตลาดใหญ่ ขายทั้งอาหารสดและอาหารแห้ง รวมทั้งเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ เช่น เสื้อผ้า เครื่องเรือน เคยมีร้านเครื่องเรือนไม้สักชั้นดีฝีมือประณีตที่นี่ ชื่อ "ห้างแซเทียน" เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่เจ้านาย และคหบดีของกรุงเทพฯ ยุคนั้นบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาในละแวกไม่ไกลจากตลาดน้อยนัก เป็นที่ตั้งของธนาคารต่างประเทศยุคแรกในสยาม ได้แก่ ธนาคารฮ่องกง-เซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาร์เติร์ด และธนาคารอินโดจีน ซึ่งสนองตอบผลประโยชน์ของลูกค้าซึ่งเป็นพ่อค้ากิจการโรงสี โรงเลื่อย โกดังสินค้า ข้าว และอื่นๆ ดังนั้น นับว่าสำนักงานถาวรแห่งแรกของ "แบงก์สยามกัมมาจล" เลือกทะเลที่ตั้งที่เหมาะสมมาก 


           

                 ตัวอาคารเป็นอาคารขนาดกลาง 3 ชั้น สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เรียกว่า โบซาร์” (Beaux Arts) ผสมกับ นีโอคลาสสิก” (Neo-classic) มีความสวยงามประณีตมาก ออกแบบโดย นายอันนิบาเล ริก๊อตติ (Annibale Rigotti) สถาปนิกชาวอิตาเลียน และนาย มาริโอ ดามันโย (Mario Tamagno) ผู้เป็นนายช่างออกแบบรับราชการอยู่ที่กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็น 2 คนเดียวกันกับผู้ที่ออกแบบพระที่นั่งอนันตสมาคม


ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย


                 เมื่อธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปอยู่ที่ถนนเพชรบุรี ในวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2514 สำนักงานแห่งเดิมที่ตำบลตลาดน้อยก็ยังคงดำเนินงานต่อไปในฐานะเป็น สาขาตลาดน้อย” นอกจากนี้อาคารแห่งนี้ยังได้รับรางวัลจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่นแห่งหนึ่งในประเทศไทย นับเป็นประกาศนียบัตรที่ประกันความงดงามเก่าแก่ และมีคุณค่ายิ่งของอาคารแห่งนี้ ซึ่งยังอยู่ในสภาพดีเยี่ยมอันควรค่าแก่การเข้าชม


ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนเพชรบุรี

ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนเพชรบุรี

ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่

จัดทำโดย: น.ส.วิชญาดา วิจิตรสกลกิจ ห้อง 942 เลขที่ 34

ที่มา: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=290525

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น